unsplash_fIywSGHYLYM

-- About Thagri

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูล แบบเปิด (Open Data Platform) โดยมีวัตถุปะสงค์ให้ประเทศไทยได้มีแหล่งรวมชุดข้อมูลแบบเปิด (Open Data) ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้โดยนักพัฒนาโปรแกรม (Application Developers) และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล(Data Scientists) ช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับนิสิตนักศึกษานักวิจัยนักพัฒนา และผู้สนใจนำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดใช้ประโยชน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดตามเจตนารมณ์ของการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)ด้วยข้อมูลแบบเปิด (Open Data)

ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลในแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ (Machine-readable Data) ที่เปิดให้นำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่คิดมูลค่า(Open License) จากความ ตระหนักในความสำคัญของข้อมูลแบบเปิดที่มีมากขึ้น govtech.in.th จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางรองรับการให้บริการเผยแพร่ข้อมูลแบบเปิด ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนได้มีช่องทาง เผยแพร่ชุดข้อมูลแบบเปิด (Publish) ด้วยจุดเด่นคือ ชุดข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์นี้จะถูกแปลง เป็น API (Application Programming Interface) ชนิด RESTFul API ให้อย่างอัตโนมัติ เน้นให้ผู้สนใจ ด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) ได้มีเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างรายงานใน แบบกราฟชนิดต่างๆ(Data Visualization tools) จากข้อมูลแบบเปิด เช่น การสร้างกราฟสำหรับ ข้อมูลในแบบเวลา (time-series) และสำหรับข้อมูลสถิติเชิงพื้นที่ (heatmap) ในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบลของประเทศไทย ด้วยวิธีการ drill-down บนแผนที่แบบลำดับชั้น (treemap)

unsplash_fIywSGHYLYM

-- About Platform

จุดเด่นที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลอื่น

  1. เน้นให้ผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชัน สามารถเข้าถึงข้อมูลในแต่ละชุดข้อมูลได้ผ่าน API (data API) ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่นยิ่งขึ้น เมื่อเทียบการเปิดเผยข้อมูลในแบบไฟล์ ตารางคำนวณแบบ excel หรือ CSV ที่นักพัฒนาแอปพลิเคชันต้องดาวน์โหลดแต่ละไฟล์ไปประมวลผลด้วยตนเอง

  2. เน้นให้ผู้ใช้ที่เป็นนักวิจัยหรือนักวิเคราะห์ข้อมูล (researcher/ data analyst) สามารถวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล (data analysis and visualization) ชุดข้อมูลเปิดได้อย่างยืดหยุ่นผ่านเว็บไซต์และสามารถนำผลการวิเคราะห์ ในแบบกราฟไปเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ (data visualization sharing) หรือ นำไปประกอบบทความในหน้าเว็บต่างๆ ได้ (data visualization embedding) อย่างยืดหยุ่นมากกว่า เมื่อเทียบการเปิดเผยข้อมูลในแบบไฟล์ตาราง คำนวณแบบ excel หรือ CSVที่นักวิจัยหรือนักวิเคราะห์ข้อมูลต้องดาวน์โหลดแต่ละไฟล์ไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองผ่านโปรแกรมภายนอก

  3. เน้นให้ผู้ใช้ที่เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล สามารถเปิดเผยข้อมูลในแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้ง่ายยิ่งขึ้น (improved data accessibility) โดยผู้เผยแพร่ข้อมูลสามารถเตรียมข้อมูลในแบบไฟล์ตารางคำนวณชนิด CSV โดยระบบจะทำการแปลงข้อมูลให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงในแบบที่กล่าวมาในข้อ 1 และ 2 ได้อย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้ไฟล์ข้อมูล CSV จะถูกตรวจสอบว่าอยู่ในแบบข้อมูลตาราง (dataset validation) ที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งหากตรวจสอบผ่าน หมายความว่าชุดข้อมูลดังกล่าว อยู่ในแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ (machine-readable data) หากไม่อยู่ในแบบที่เหมาะสมก็จะไม่สามารถนำเข้าสู่ระบบได้ จึงทำให้ข้อมูลเปิดที่ให้บริการมีคุณภาพมากกว่า เมื่อเทียบการเปิดเผย ข้อมูลในแบบไฟล์ตารางคำนวณแบบ excel หรือ CSV ที่ปกติจะไม่มีการตรวจสอบคุณภาพของไฟล์ชุดข้อมูลว่าเป็นแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้จริงหรือไม่